วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ฮาร์ดดิสก์ (HDD : Hard Disk Drive) กับ เอสเอสดี (SSD : Solid state Drive) ให้เห็นถึงข้อแตกต่าง เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจที่จะซื้อหรือจะเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ (HDD : Hard Disk Drive) คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถาวรที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ , โปรแกรม , ไฟล์เอกสารต่างๆ ฮาร์ดดิสก์มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กที่ซึ่งจะหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มทำงาน
เอสเอสดี (SSD : Solid state Drive) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็นหน่วยความจำแทนการใช้จานแม่เหล็ก เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนกับฮาร์ดดิสก์
เอสเอสดี (SSD) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่คนกำลังให้ความสนใจจำนวนมาก มันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของหน่วยความจำหลัก การเปลี่ยนมาใช้ เอสเอสดี (SSD) ไม่ได้ปรับปรุงประสิทธิการทำงานเล็กๆ น้อยๆ แต่มันต่างกันกับฮาร์ดดิสก์ (HDD) อย่างเห็นได้ชัดเจน เอสเอสดี (SSD) จะเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์คุณไปในทางที่ดีขึ้นมากๆ
ฮาร์ดดิสก์ (HDD) บันทึกข้อมูลไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา ถ้าคุณเคยเห็นภายในฮาร์ดดิสก์ (HDD) จะเป็นเหมือนกับเครื่องเล่นแผ่นเสียง แต่ เอสเอสดี (SSD) ภายในจะไม่มีชิ้นส่วนใดๆ ที่เคลื่อนไหว เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ (HDD) ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในไดรฟ์ได้อย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำสูง
ความแตกต่างระหว่างฮาร์ดดิสก์กับเอสเอสดี
ภายในฮาร์ดดิสก์กับเอสเอสดี
เอสเอสดีเร็วกว่า – ภาพซ้ายเป็นกราฟเปรียบเทียบความแร็วในการบูทเครื่อง , รีสตาร์ทเครื่อง และเปิดโปรแกรม ยิ่งน้อยยิ่งดี
– ภาพขวากราฟเปรียบเทียบความล่าช้า(ระยะเวลา)ในการอ่านข้อมูลโดยการซุ่ม (หน่วยเป็นมิลลิวินาที) ยิ่งน้อยยิ่งดี
เอสเอสดีใช้พลังงานน้อยกว่า – จากภาพเป็นกราฟเปรียบเทียบการใช้พลังงาน สีส้ม (ขณะใช้งาน) สีฟ้า (ขณะไม่ได้ใช้งาน) ยิ่งน้อยยิ่งดีนะครับ
เอสเอสดีน้ำหนักเบากว่า
เอสเอสดีมีอุณหภูมิน้อยกว่า – เอสเอสดีมีอุณหภูมิขณะใช้งานอยู่ประมาณ 26 องศาเซลเซียล ส่วนฮาร์ดดิส มีอุณหภูมิขณะใช้งานอยู่ประมาณ 35องศาเซลเซียล
หากความแตกต่างระหว่างฮาร์ดดิสก์กับเอสเอสดีด้านบนยังไม่ชัดเจนพอ เรามาดูตารางเปรียบเทียบระหว่างเอสเอสดีกับฮาร์ดดิสก์ด้านล่างกันดีเลยจะได้เห็นเป็นตัวเลขชัดๆ เลย
ตารางเปรียบเทียบระหว่างเอสเอสดีกับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดความจุเท่ากัน
ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลแบบเรียงลำดับ (เมกะบิตต่อวินาที ) : เอสเอสดี อ่าน (Read) เร็วกว่า 3-8 เท่า , เขียน (Write) เร็วกว่า 2-5 เท่า
ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลแบบสุ่ม (IOPS) : เอสเอสดี อ่าน (Read) ได้เยอะกว่า 217 เท่า , เขียน (Write) ได้เยอะกว่า 175 เท่า (IOPS : Input/Output Operations Per Second = จำนวนข้อมูลที่อ่าน/เขียนทั้งขาเข้ากับขาออกต่อวินาที) ***หลายๆ ยี่ห้อในการคำนวนณค่า IOPS ของเอสเอสดี นิยมใช้ไฟล์ขนาด 4KB เป็นตัวอ้างอิง แต่ การคำนวนณค่า IOPS ของฮาร์ดดิสก์นิยมใช้ไฟล์ขนาด 128 KB เป็นตัวอ้างอิง ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน***
ระยะเวลาที่รอจนกว่าจะพร้อมใช้งาน (มิลลิวินาที) : เอสเอสดีเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ 100-120 เท่า ในข้อนี้ก็คือเวลาการบูทเครื่องนั่นเอง
คะแนนทดสอบประสิทธิภาพ : เอสเอสดีสูงกว่าฮาร์ดดิสก์ 14 เท่า คะแนนนี้ได้จากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในด้านต่างๆ มาคิดคำนวณออกเป็นตัวเลข ในข้อนี้คะแนนยิ่งเยอะยิ่งดีนะครับ
อัตราการกินไฟ : เอสเอสดีน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ 13 เท่า ถือว่าประหยัดพลังงานมาก
อัตราการกินไฟขณะไม่ได้ใช้งาน : เอสเอสดีน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ 17 เท่า
ความทนทานต่อการสั่นสะเทือน : เอสเอสดีทนการสั่นสะเทือนได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์ 40 เท่า ค่ายิ่งมาก ยิ่งทนได้ดี
ความทนทานต่อการสั่นสะเทือน (ขณะทำงาน) : เอสเอสดีทนการสั่นสะเทือนได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์ 4 เท่า ค่ายิ่งมาก ยิ่งดี
ความน่าเชื่อถือ (ระยะเวลาเฉลี่ย) : เอสเอสดีมีอายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่าฮาร์ดดิสก์ 2 เท่า
ราคา : เอสเอสดีจะมีราคาสูงกว่าฮาร์ดดิสก์เฉลี่ย 2-5 เท่า ด้วยเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า บวกกับประสิทธิภาพที่ดีขนาดนี้ ย่อมมาพร้อมกับราคาที่สูงพอตัวเหมือนกัน
ทั้งนี้ความแปรผันของรายละเอียดต่างๆ จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของ เอสเอสดี และ ฮาร์ดดิสก์แต่ละตัว ความแตกต่างเหล่านี้ที่เรานำมาเปรียบเทียบกันวันนี้ คงทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะเปลี่ยนหรือไม่
ขอบคุณที่มาจาก : วิกิพีเดีย , samsung , overclockzone , ocz , mtechlaptops