ศัพท์ด้านไอทีส่วนใหญ่ที่เราคุ้นชินจะเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษแทบจะทั้งสิ้น โดยปัญหาที่พบเจอคือเรื่องของการสะกดคำ อย่างที่เรารู้กันว่าการสะกดแบบราชบัณฑิตนั้น จะมีข้อแม้ด้านตัวสะกดบางอย่าง และอาจจะมีศัพท์เฉพาะสำหรับคำนั้นๆ ที่บัญญัติขึ้นมาอีก
ซึ่งคำที่เราใช้บ่อยๆ พอไปตรวจดูอีกครั้งก็ยังพบว่าสะกดผิด เราจึงรวบรวม 8 คำศัพท์ที่ใช้ผิดบ่อยๆ มาสรุปให้ครับ
Application ≠ แอพพลิเคชั่น = แอปพลิเคชัน
Update ≠ อัพเดท, อัปเดท = อัปเดต
Function ≠ ฟังก์ชั่น, ฟังค์ชั่น = ฟังก์ชัน
Smart ≠ สมาร์ท = สมาร์ต
Graphic ≠ กราฟฟิก, กราฟฟิค = กราฟิก
Click ≠ คลิ้ก, คลิ๊ก = คลิก
Link ≠ ลิงค์, ลิ้งค์ = ลิงก์
Lab ≠ แล็ป = แล็บ
เห็นได้ว่าส่วนใหญ่เราจะผิดที่ตัวสะกด และการใส่วรรณยุกต์ทั้งนั้นเลยนะครับ โดยหลักเกณฑ์การใช้คำทับศัพท์ของราชบัณฑิตมีกำหนดไว้ดังนี้
1. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
2. การวางหลักเกณฑ์ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แต่ละภาษาไป
3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต, เชิ้ต, ก๊าซ, แก๊ส
4.คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://bit.ly/2I1bM96
อัจฉริยะ คำพันยิ้ม
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี