ข้อบังคับและนโยบายเกี่ยวกับ e-Tax Invoice & e-Receipt

ข้อบังคับและนโยบายเกี่ยวกับ e-Tax Invoice & e-Receipt

เมื่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นทางเลือกหลักในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นประเด็นสำคัญหนึ่งคือการดำเนินการตามกฎระเบียบและนโยบายเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoices) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipts) และบทความนี้สำรวจกันว่ามีข้อบังคับและนโยบายอะไรบ้างที่เกี่ยวกับ e-Tax Invoice & e-Receipt

 

ความสำคัญของ e-Tax Invoices & e-Receipt

ใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินแบบกระดาษแบบดั้งเดิมถูกใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินมาช้านาน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบหลายประการ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกดิจิทัลที่ช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงกระบวนการออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จ เพิ่มความแม่นยำ ลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ช่วยลดภาระด้านการดูแลระบบ และทำให้การเก็บบันทึกง่ายขึ้นสำหรับทั้งธุรกิจและหน่วยงานด้านภาษี

 

ข้อบังคับและนโยบายเกี่ยวกับ e-Tax Invoice & e-Receipt มีอะไรบ้าง?

1. ผู้ประสงค์จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ยื่นคำขอต่ออธิบดีตามแบบ บ.อ.01 โดยยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิก

2. ผู้ประสงค์ที่จะยื่นคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 77/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร
  • มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)
  • มีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและส่งมอบให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่ง และรับโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

3. การยื่นคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นต่ออธิบดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด

4. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้มีสิทธิจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้

5. ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี ตามวิธีการแบบปลอดภัยที่เชื่อถือได้ทั้งในส่วนของระบบฮาร์ดแวร์ และระบบซอฟต์แวร์ ดังต่อไปนี้

  • มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้ โดยจะต้อง
  • สามารถแสดงภาพการทำงานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) ได้
  • เป็นโปรแกรมที่เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วจะแก้ไขรายการนั้น ๆ โดยไร้ร่องรอยไม่ได้
  • แสดงระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ โดยระบุจำนวนและระดับเจ้าหน้าที่ที่สามารถบันทึก อ่าน หรือเข้าไปใช้ระบบงานในแต่ละระดับได้
  • มีการควบคุมโดยใช้รหัสผ่านสำหรับผู้มีสิทธิเข้าไปใช้ระบบงานทุกระดับและมีระบบงานที่บันทึกการเปลี่ยนรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • มีรายงานบันทึกการใช้ระบบงานโดยระบุให้ทราบถึงรหัสประจำตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบงานที่ทำ วัน เดือน ปี และเวลาที่เข้าใช้ระบบงาน (Access)
  • มีระบบการตรวจสอบผู้เข้าใช้หรือผู้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในระบบ และมีกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบที่สามารถแสดงว่าข้อมูลดังกล่าวได้บันทึกไว้ครบถ้วนทุกรายการแล้ว และไม่มีการแก้ไขรายการของเอกสารที่มีข้อความอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  • มีการควบคุมแฟ้มข้อมูลซึ่งมีการเข้ารหัสลับ (Encryption) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล ถ้ามีการถอดรหัสลับ (Decryption) ต้องบันทึกหลักฐานไว้ทุกครั้งเพื่อการตรวจสอบ และสามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเพื่อการตรวจสอบได้

6. ผู้ออกใบกำกับภาษีอิล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ โดยให้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

7. ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งมอบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงิน หรือผู้ชำระราคา

8. ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

9. การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กรมสรรพากรตามวรรคหนึ่ง ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)

10. การส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์จัดทำข้อมูลให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ETDA RECOMMENDATION ON ICT STANDARD FOR ELECTRONIC TRANSACTION) (ขมธอ. 3-2561) ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

11. กรณีที่ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตั้งผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแทนส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้นแจ้งให้กรมสรรพากรทราบถึงการตั้งตัวแทนดังกล่าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด

12. ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งประสงค์จะเป็นผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นตัวแทนนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แทนผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์อื่นมีหน้าที่แจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

13. การส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับผู้ให้บริการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (INFORMATION SECURITY FOR DATA MESSAGE GENERATION, TRANSFER AND STORAGE SERVICE PROVIDERS) (ขมธอ. 21-2562) ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562

14. ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และต้องไม่นำข้อมูลนั้นไปใช้หรือเปิดเผยไม่ว่าด้วยประการใด ๆ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์

15. การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมเพื่อออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จัดเตรียมข้อความของใบกำกับภาษีใหม่ขึ้นเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่ และลงวัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ พร้อมหมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีใหม่แทนใบกำกับภาษีเดิม เลขที่… วัน เดือน ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิม”

16. ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไว้ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และถ้าได้เก็บรักษาในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาไว้ตามประกาศนี้แล้ว

  • ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นโดยสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และ
  • ได้เก็บรักษาข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่ได้สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรืออยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ
  • ได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง และปลายทางของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี

 

ที่มา ข้อมูลจาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

บริษัท ดีไอทีซี จำกัด ในเครือ บริษัท ธรรมนิติ จํากัด (มหาชน)

ผู้ให้บริการด้านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt อย่างครบวงจร
โทรศัพท์ : 0 2555 0999
LINE : @ditc หรือคลิก https://lin.ee/gztVQxB 
Inbox FB : https://m.me/dharmnitiditc
Website :  www.ditc.co.th