ระบบ ERP เลือกอย่างไร? ให้เหมาะกับธุรกิจคุณ

ปัจจุบันระบบ ERP มีการนำมาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความหลากหลาย ในการใช้งานเพื่อรองรับธุรกิจ ทั้งยังช่วยวางแผนบริหารจัดสรรทรัพยากรขององค์กรให้เหมาะสม และสนับสนุนการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

การเลือกระบบ ERP เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก เราต้องคำนึงถึงต้นทุนการติดตั้งที่มีราคาค่อนข้างสูง รวมไปถึงฟังก์ชันหรือความสามารถในการทำงานของระบบที่จะตอบสนองการดำเนินงานของธุรกิจได้

บทความนี้เรามีแนวทางการเลือกใช้ระบบ ERP อย่างไรให้เหมาะสม เพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาตัวช่วยในการบริหารธุรกิจให้ง่ายขึ้น


หลักพิจารณาเลือกใช้ระบบ
ERP ให้เหมาะสม


1. ต้นทุนการเป็นเจ้าของระบบ ERP

ระบบ ERP มีต้นทุนในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและพิจารณาผลที่จะได้รับในแต่ละส่วนงานเปรียบเทียบว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ โดยเฉพาะต้นทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตั้งแต่ต้นทุนของระบบ ต้นทุนการนำระบบไปใช้ และต้นทุนการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงเวลาที่ใช้อบรมและพัฒนาบุคลากร

หากองค์กรของคุณไม่ใหญ่มากนัก แต่เลือกระบบ ERP ที่มีฟังก์ชันมากมายเกินความจำเป็น อาจส่งผลต้นทุนการเป็นเจ้าของระบบ ERP นั้นอยู่ในสถานการณ์ที่สูงเกินจำเป็นและไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป

2. เลือกใช้ระบบ ERP แบบสำเร็จรูปหรือแบบสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นใหม่

ระบบ ERP แบบสำเร็จรูปหรือแบบสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาเองก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบ ERP แบบสำเร็จรูปมากกว่า เพราะมีราคาที่จับต้องได้ ใช้เวลาในการติดตั้งไม่นาน ทำให้องค์กรประหยัดเวลาและงบประมาณ

หากองค์กรต้องการเลือกใช้ระบบ ERP แบบสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่ อาจจะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบระบบ และมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีที่มากพอ อีกหนึ่งข้อเสียของการเลือกพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นเองนั้นคือใช้เวลานาน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและบุคลากร ทำให้งบประมาณบานปลายอีกด้วย

ปัจจุบันระบบ  ERP แบบสำเร็จรูปได้ถูกออกแบบและพัฒนาให้มีฟังก์ชันการทำงานที่ครบวงจรมากขึ้น ง่ายต่อการใช้งาน จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ซึ่งจะเหมาะสำหรับองค์กธุรกิจขนาดย่อมหรือ SME ไปจนถึงขนาดกลาง

3. ฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การนำระบบ ERP มาปรับใช้ในองค์กรนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์หรือนโยบายขององค์กร เพราะการดำเนินงานในแต่ละองค์กรก็มีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การวางแผนการทำงานหรือการควบคุมงานต่าง ๆ ในองค์กร

ดังนั้น ระบบ ERP ที่ดี ต้องมีฟังก์ชันที่่ครอบคลุมกระบวนการทำงานที่เราต้องการ ใช้งานง่าย ประหยัดเวลาในการทำงาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาและสอดคล้องไปกับวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย เพื่อให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุผลสำเร็จ

4. เทคโนโลยีของระบบ

องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีของระบบหรือซอฟต์แวร์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ ระบบฐานข้อมูล ภาษาที่ใช้พัฒนาระบบ การเชื่อมต่อกับระบบภายนอก เพราะในปัจจุบันหรืออนาคตอาจมีแนวโน้มทางการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลคู่ค้า ระหว่างผู้ขายและลูกค้า ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงความเสถียรของระบบและความปลอดภัยที่จะมารองรับธุรกิจขององค์กรได้ด้วย

5. ความยืดหยุ่นและศักยภาพการทำงานของระบบ

รูปแบบการทำงานแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน ในกระบวนการทำงานและงานเอกสารการดำเนินงานต่าง ๆเช่น เอกสารใบกำกับภาษี ใบคำสั่งซื้อหรือเอกสารอื่น ๆจำเป็นต้องเลือกระบบที่มีความสามารถในการปรับแต่งหรือแก้ไขปรับปรุงได้

ดังนั้น ระบบ ERP ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงานของระบบ สามารถที่จะปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานขององค์กร และการแก้ไขปรับปรุงสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ต้องรองรับซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ ๆได้เพื่อธุรกิจที่เติบโตขึ้นในอนาคต

 

เห็นแล้วใช่ไหมว่า การเลือกระบบ ERP สำคัญกับธุรกิจมากแค่ไหน ผู้ประกอบการหรือองค์กรควรเลือกระบบหรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานให้เหมาะสมกับธุรกิจและตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้

 

ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี สมัครใช้บริการวันนี้ เริ่มต้นเพียงเดือนละ 7,500 บาท* พร้อมรับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 10% สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-555-0999
LINE : @ditc หรือ https://page.line.me/ditc
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ditc.co.th