เตรียมพร้อมออฟฟิศอย่างไร? เมื่อสิ้นสุดช่วง Work from Home

ออฟฟิศที่ว่างเปล่าช่วงพนักงานทำงานที่บ้านหรือ Work from Home ทำให้บรรยากาศที่เคยคึกคัก เต็มไปด้วยเสียงของผู้คนที่มีชีวิตชีวานั้นเงียบเหงาหายไป รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจถูกปรับเปลี่ยนให้เอื้อต่อการทำงานอย่างราบรื่นจากพื้นที่ต่างๆ นอกออฟฟิศ อาจใกล้ถึงเวลาที่จะกลับมาถูกใช้งานอีกครั้งเมื่อวิกฤติผ่านไป ดังนั้นการเตรียมพร้อมออฟฟิศเพื่อพร้อมรับพนักงานกลับมาทำงานหลังหมดช่วง Work from Home จึงเป็นอีกหนึ่งโจทย์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และจะมีอะไรที่ควรทำบ้าง ตามไปดูกัน

1. ปรับออฟฟิศปลอดเชื้อเพื่อความปลอดภัย

แน่นอนว่าแม้พนักงานจะกลับมาทำงานได้เป็นปกติ แต่ก็ใช่ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะหายไปเป็นปกติแบบ 100% ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบาดภายในองค์กร ควรมีการปรับออฟฟิศในส่วนต่างๆ เพื่อป้องกันไว้ก่อนด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1.1 ปรับพื้นที่เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ

การปรับพื้นที่ภายในออฟฟิศหลังสถานการณ์วิกฤติเบาลง ที่หลายออฟฟิศเริ่มให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศควรมีการปรับพื้นที่ต่างๆ เช่น

  • โถงทางเดินและประตูเข้าออกมีพื้นที่กว้างขึ้นเพื่อให้พนักงานมีระยะเว้นห่างเมื่อเดินสวนกัน
  • จัดพื้นที่ให้พนักงานมีพื้นที่ของตัวเอง และรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เช่น เพิ่มพาร์ทิชันกันระหว่างโต๊ะทำงาน
  • มีเจลแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างมือวางไว้บริเวณประตูทางเข้าและพื้นที่ที่ใช้งานร่วมกัน
  • งดการใช้พื้นที่ Co-working Space บาร์ขนม และโซนกาแฟเครื่องดื่มร่วมกัน
  • ให้ความสำคัญกับความสะอาดมากขึ้น โดยเฉพาะในจุดที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ่มกดลิฟต์ เครื่องถ่ายเอกสาร ราวบันได ห้องนำ โดยต้องมีการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อให้บ่อยที่สุด
  • ให้ความสำคัญกับระบบระบายอากาศ ที่ต้องถ่ายเทสะดวกและหมั่นทำความสะอาดพร้อมฆ่าเชื้อเครื่องปรับอากาศ
  • จัดพื้นที่รับประทานอาหารตามมาตรการเว้นระยะห่าง และออกกฎงดแชร์อาหารรับประทานร่วมกัน

1.2 ลดการใกล้ชิด-สัมผัส ด้วยเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดการใกล้ชิดหรือสัมผัสพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ กลายเป็นส่วนสำคัญที่หลายองค์กรให้ความสนใจ ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่จะช่วยซัพพอร์ตให้ออฟฟิศปลอดเชื้อและลดโอกาสแพร่เชื้อมากที่สุด

  • ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อยืนยันการเป็นพนักงานเมื่อจะเข้าออกพื้นที่ หรือการใช้ซอฟต์แวร์บันทึกเวลาเข้าออกงานแทนการสแกนนิ้วหรือแตะบัตรพนักงานที่เครื่อง
  • ปรับลิฟต์เป็นแบบระบบสั่งการด้วยเสียง ลดการสัมผัสปุ่มกด หรือหากเปลี่ยนแปลงไม่ได้ต้องมีอุปกรณ์สำหรับใช้กดปุ่มลิฟต์เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อต่างๆ
  • ใช้ซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการประชุมออนไลน์กับบุคคลภายนอก ส่วนบุคคลภายในหากต้องประชุมแบบพบหน้าต้องยึดมาตรการเว้นระยะห่าง
  • มีประตูที่เป็นระบบเซนเซอร์ ลดการสัมผัสที่มือจับประตู
  • ปรับส่วนต่างๆ ของห้องน้ำให้ทำงานด้วยระบบเซ็นเซอร์ เช่น ที่กดสบู่เหลว ก๊อกน้ำ ถังขยะ ชักโครก
  • สแกนคนเข้าออกด้วยเครื่องวัดความร้อน เพื่อตรวจวัดความผิดปกติและบุคคลกลุ่มเสี่ยง

2. ดูแลอุปกรณ์เครื่องมือไอทีและเน็ตเวิร์คให้ใช้งานอย่างไหลลื่น

  • คอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กต้องพร้อมใช้งาน โดยในช่วง Work from Home พนักงานอาจมีการนำอุปกรณ์ดังกล่าวกลับบ้าน และอาจจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานให้คล่องตัวมากที่สุด จนอาจมีโอกาสที่บางเครื่องอาจถูกเล่นงานจากไวรัสหรือการโจรกรรมต่างๆ ดังนั้นเมื่อพนักงานกลับเข้ามาทำงานตามปกติ ควรมีการตรวจเช็กความปลอดภัยของอุปกรณ์รวมถึงกลับมากำหนดสิทธิ์การใช้งานโปรแกรมและการเข้าถึงเว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ เพื่อความปลอดภัย
  • ตรวจสอบโปรแกรมต่างๆ ในเครื่องให้ใช้งานได้อย่างปกติ หากมีโปรแกรมแปลกปลอม หรือมีโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ ถูกติดตั้งลงเครื่องไว้ เจ้าหน้าที่ไอทีควรดำเนินการลบออกและปรับเซ็ตโปรแกรมต่างๆ ให้มีตามสิทธิ์การใช้งานของพนักงานแต่ละคน
  • อุปกรณ์เน็ตเวิร์กต่างๆ ควรถูกเซ็ตไว้เพื่อพร้อมสำหรับการใช้งานร่วมกันหลายๆ คนอย่างไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปริ้นเตอร์ สแกนเนอร์ รวมถึงระบบเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ

เมื่อวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย นั่นหมายถึงช่วงเวลาที่ธุรกิจต้องเร่งฟื้นฟูและปรับตัวให้เข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งการเตรียมความพร้อมทั้งสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ และพนักงานให้พร้อมรับสำหรับการปรับเปลี่ยน จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้อย่างไม่สะดุด ดังนั้นลองสำรวจดูว่าหากพนักงานต้องสิ้นสุดการ Work from Home และกลับสู่ออฟฟิศอีกครั้ง ออฟฟิศของคุณมีการเตรียมพร้อมรับแล้วหรือยังIT Support Outsource, ไอที, IT Outsourceประสบการณ์มากกว่า 10 ปี สมัครใช้บริการวันนี้ เริ่มต้นเพียงเดือนละ 7,500 บาท* พร้อมรับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 10% สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-555-0999

LINE : @ditc หรือ https://page.line.me/ditc
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ditc.co.th
บริการ IT outsource

อัจฉริยะ คำพันยิ้มผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี