กลายเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการเสียภาษีและประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย อย่างไรก็ตามก็มีความเสี่ยงที่ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ อาจถูกปลอมแปลงหรือดัดแปลงได้ ดังนั้นการตรวจสอบความถูกต้องของ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ และบทความนี้ ดีไอทีซี จะพาไปดูขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องกัน
วิธีตรวจสอบความถูกต้องของ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
1. ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
หากต้องการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้าผู้ประกอบการ เพื่อการใช้สิทธิตามมาตรการ ” Easy E-Receipt ” ในวันที่ 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมสรรพากร สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร หัวข้อ ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ Easy E-Receipt ( https://efiling.rd.go.th/rd-questionnaire-web/etax-invoice )
2. ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลใน ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : e-Tax Invoice & e-Receipt
ที่มาภาพ : กรมสรรพากร (https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/news/announcedetail#top)
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
- ลงลายมือชื่อดิจิทัลในใบกำกับภาษีด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้งหากพบว่าข้อมูลใดไม่ครบถ้วนหรือถูกต้อง อาจเป็นสัญญาณว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นอาจไม่ถูกต้อง
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ : e-Tax Invoice by Email
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
- ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) โดย ETDA
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้ง
3. ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบไฟล์ของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีรูปแบบไฟล์ที่รองรับอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ PDF และ XML หากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มามีรูปแบบไฟล์อื่น อาจไม่ถูกต้อง
นอกจากนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟล์ที่ได้รับนั้นสมบูรณ์และไม่ถูกแก้ไข หากพบร่องรอยการแก้ไข อาจเป็นไปได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นอาจถูกปลอมแปลงหรือดัดแปลง
4. ตรวจสอบความถูกต้องของการประทับรับรองเวลา หรือลายมือชื่อดิจิทัล
การประทับรับรองเวลา หรือลายมือชื่อดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการพิสูจน์ตัวตนและป้องกันการแก้ไขเอกสาร ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการประทับรับรองเวลา หรือลายมือชื่อดิจิทัลถูกต้อง จะได้รับการรับรองความถูกต้องโดยกรมสรรพากร
วิธีตรวจสอบความถูกต้องของการประทับรับรองเวลา หรือลายมือชื่อดิจิทัลแบบง่ายๆ
สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการประทับรับรองเวลา หรือลายมือชื่อดิจิทัลได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการสร้างและบันทึกเป็นรูปแบบ PDF, PDF/A-3 (.pdf) หรือ XML (.XML) โดยเข้าไปที่ https://validation.teda.th
ที่มาภาพ : กรมสรรพากร (https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/news/announcedetail#top)