ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันทุกๆ ด้าน การจัดการธุรกรรมทางการเงินและเอกสารสำคัญต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันสมัย และคำตอบของการทำธุรกรรมทางการเงินในยุคนี้คือ ‘ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์‘ และ ‘ใบรับอิเล็กทรอนิกส์‘ ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังลดภาระทางการเงินและการใช้กระดาษ ในบทความนี้มาทำความรู้จักเครื่องมือนี้และเรียนรู้ว่าสามารถช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร
สรุปประเด็นเนื้อหา
- e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?
- e-Receipt หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?
- ทำไมต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์?
- ประโยชน์ของการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?
ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร รวมถึงใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ e-Tax Invoice by Email
e-Receipt หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?
ใบรับหรือใบเสร็จรับเงิน ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด
ทำไมต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์?
- รองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร
- ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการของภาครัฐและภาคเอกชน
- ลดการใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษ ช่วยลดภาวะโลกร้อน
- เพิ่มความมั่นใจ ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
ประโยชน์ของการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
- ลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร
- สามารถนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลต่อในระบบสารสนเทศภายในองค์กรได้ทันที
- ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร
- สะดวกและลดระยะเวลาในการค้นหาเอกสาร
- ระบบจัดทำมีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูง เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
- มีข้อมูลเชิงลึกที่สามารถใช้วิเคราะห์ ติดตามการขาย พฤติกรรมและความชอบของลูกค้าได้
ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์มากมายทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร
อ้างอิงข้อมูล
- คู่มือ OVERVIEW ของกรมสรรพากร ฉบับลงวันที่ 3 ก.ย.2562
- กรมสรรพากร